วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 
         1.เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network) หรือแลน (LAN)
         2.เครือข่ายบริเวณนครหลวง (Metropolitan Area Network) หรือแมน (MAN)
         3.เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) หรือแวน (WAN)
         4.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

  

เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)

          1.เครื่องบริการ(server)
          2.เครื่องสถานีงาน(workstation) หรือเครื่องรับบริการ(client)
          3.การ์ดต่อเชื่อมเครือข่ายเฉพาะที่(LAN card)
          4.ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบเครือข่าย(network system software)
          5.เครื่องกระจายสายระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ หรือฮับ(hub)
          6.สายต่อเชื่อมระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่(LAN cable)
 
               เครื่องบริการ(server) หรือ เครื่องแม่ข่าย คือเครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานให้บริการ ในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการผู้ใช้อีกทีหนึ่ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี้ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก ภายในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีกชั้นหนึ่ง
               เครื่องสถานีงาน(workstation) อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงานที่ได้รับการบริการจากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผลหรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมเป็นศูนย์กลางเรียกสถานีปลายทางว่า เทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์
                 แผ่นวงจรต่อเชื่อมเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่(LAN card)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเวิร์คสเตชั้น (Workstation) และเครื่องให้บริการข้อมูล (Server) ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ จำเป็นต้องติดตั้งแลนการ์ด
              ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบเครือข่าย(network system software) ระบบปฏิบัติการทั้งของเครื่องบริการและของเครื่องสถานีงานจะต้องเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาให้สามารถทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลกับเครือข่ายได้

              เครื่องกระจายสายระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ หรือฮับ(hub)โครงสร้างของระบบ LAN ทั่วไปจะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยใช้สายชนิดที่เรียกว่า UTP เป็นตัวเชื่อมต่อ ซึ่งในการทำงานจริงข้อมูลที่ส่งออกมาจากการ์ด LAN ของแต่ละเครื่องจะถูกกระจายต่อไปยังทุกเครื่องที่ต่อกับ HUB นั้น เหมือนกับการกระจายเสียงหรือ broadcast ไปให้ทุกคนรับรู้แต่เฉพาะเครื่องที่ถูกเจาะจงให้เป็นผู้รับเท่านั้นจึงจะรับข้อมูลไปอ่าน แต่สายทุกเส้นจะต้องมีข้อมูลนี้วิ่งไปด้วย คือส่งได้ทีละเครื่องเท่านั้น
               สายต่อเชื่อมระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่(LAN cable)คือสายสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์ ที่นิยมใช้มีดังนี้ UTB, STB ซึ่งการเลือกสายแต่ละประเภทนี้จะขึ้นกับการนำ ไปใช้ เช่น ติดตั้งภายใน ภายนอก หรือระยะทางไกลแค่ไหน เป็นต้น

  เครือข่ายบริเวณนครหลวง (Metropolitan Area Network) หรือแมน (MAN)

                เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LANที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเ้บิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
                ตัวอย่าง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาหนึ่งๆ จะมีระบบ MAN เพื่อเชื่อมต่อระบบ LAN ของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย MAN ได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่าย MAN ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max

  เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) หรือแวน (WAN)

                ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ ที่อยู่ห่างกันไกล อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ 2 ไมล์ซึ่งไกลกว่า ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่แลนที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area network) ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สาย

  เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

                ระบบเครือข่ายสากล ที่เกิดจากการรวมระบบเครือข่ายขนาดเล็กให้สื่อสาร และ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ โดยเป็นเครือข่ายที่มีเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งเปิดกว้างสู่สาธารณะอย่างแพร่หลาย ผสานระบบเครือข่ายที่แตกต่างกันทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
                อินเทอร์เน็ตทำให้เปิดโลกทัศน์ของผู้ใช้ได้กว้างไกล ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า โลกไร้พรมแดน เราสามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูล ค้นคว้าหาความรู้ ด้วยระบบ World Wide Web (WWW) หรือสื่อสารผ่านทางระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

 



              


ความหมายของข้อมูล

ข้อมูล  
                ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ
1.ระบบคอมพิวเตอร์
2.อุปกรณ์ต่อเซื่อมเพื่อการสื่อสารข้อมูล(เป็นส่วนฮาร์ดแวร์)
3.ซอฟแวร์สำหรับการสื่อสารข้อมูล
4.โพรโทคอล (protocol) หรือ เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบนั้นๆ
5.สื่อนำข้อมูล (media) เช่น สายโทรศัพท์ หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง หรือคลื่นวิทยุ