วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงงานบูรณาการเมี่ยงคำเมืองตาก (วิชาสุขศึกษา)

โครงงานบูรณาการเมี่ยงคำเมืองตาก (วิชาสุขศึกษา)
คุณค่าทางโภชนาการของเมี่ยงคำ
               ในไส้เมี่ยงและเครื่องเมี่ยง มีส่วนประกอบหลายอย่าง ได้แก่ใบชะพลูมะพร้าวหอมแดงขิงข่า ตระไคร้ มะนาว น้ำตาลปีบ พริกขี้หนู กะปิเผา น้ำปลา กุ้งแห้งและถั่วลิสงซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ก็มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันไปดังนี้
1.ใบชะพลู
                ใบชะพลูให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดวิตามิน เกลือแร่ มีสารอาหารที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น แคลเซียม วิตามินเอสูง ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เส้นใยและสารคลอโรฟิลล์ และยังมีสรรพคุณทางยา เช่น ช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียดแน่น ฯลฯ
2.มะพร้าว
                เนื้อมะพร้าวให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดไขมัน มีคุณค่าทางโภชนาการสูงได้แก่ แคลเซียมโพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินซี ไขมัน บี 2 บี 5 และบี 6 กรดโฟลิก กรดอะมิโน และฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง มีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานได้ทันทีอีกด้วยช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทองมะและยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดีแถมยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกายจึงช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส
3.หอมแดง
                หอมแดงให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดวิตามิน เกลือแร่ ในหอมแดงสดจะมีน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบอีกทั้งยังมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และหากกินเป็นประจำก็จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดไขมันในเส้นเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจนอกจากนั้นในหอมแดงยังมีธาตุฟอสฟอรัสปริมาณสูง ช่วยให้มีความจำดี อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี
4.ขิง
                ขิงให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดวิตามิน เกลือแร่ ขิงเป็นสมุนไพรที่ใช้แก้หวัด แก้ไข้ แก้หนาวสั่น แก้บาดทะยัก แก้โรคเรื้อน มีฤทธิ์แก้หวัดเย็นขับเหงื่อบำรุงกระเพาะ แก้ปวดข้อ แก้ปัญหาเรื่องไต แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ลดโคเลสเตอรอลที่สะสมในตับและหลอดเลือด ของหญิงสาวเหล่านี้มาใช้ในการเดินเรือ โดย มีการเคี้ยวรากขิงเมื่อออกทะเลเวลา เมาคลื่นลม
5.มะนาว
                มะนาวให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดวิตามิน เกลือแร่ซึ่งมะนาวเป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิดเช่นกรดซิตริก กรดมาลิค วิตามินซี ซึ่งได้จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาวมีวิตามินเอและซี รวมทั้งมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาว มีสรรพคุณทางยา คือ เปลือกผลมีรสขมช่วยขับลม รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
6.พริกขี้หนู
                  พริกขี้หนูให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดวิตามิน เกลือแร่ ซึ่งพริกขี้หนูเป็นเครื่องชูรสที่ให้ความเผ็ดซึ่งก็คือ สารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่ทำให้มีรสเผ็ดร้อน ในทางยาไทยพริกมีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียดแก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับผายลม ช่วยในการเจริญอาหาร ขับเหงื่อ บำรุงธาตุไฟ แก้ปวดหลังปวดเอว แก้บวม เคล็ดขัดยอก
7.ถั่วลิสง
                  ถั่วลิสงให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดโปรตีน ซึ่งถั่วลิสงยังประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ๘ ชนิด ในอัตราที่เหมาะสม ถั่วลิสงยังมีไขมัน วิตามินบี ๒โคลีน (choline) กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เมธิโอนีน (Methionine)และวิตามิน เอบีอีเค แคลเซียม เหล็กและธาตุอื่นๆการบริโภคน้ำมันถั่วลิสงเป็นประจำจะทำให้โคเลสเตอรอลในตับสลายตัวเป็นกรดน้ำดี(bileacid) ไม่เพียงแต่ลดโคเลสเตอรอลลงเท่านั้น ยังเป็นการป้องกันหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจของคนในวัยกลางวันและวัยสูงอายุได้
8.กุ้งแห้ง
                กุ้งแห้งให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดโปรตีน
9.ข่า
                ข่าให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดวิตามิน เกลือแร่ ซึ่งข่านั้นยังช่วยขับลม แก้บวม ฟกซ้ำ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดได้อีกด้วย
10.ตระไคร้
               ตระไคร้ให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดวิตามินและเกลือแร่
11.น้ำตาลปีบ
                น้ำตาลปีบให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดไขมัน ซึ่งป็นสารให้พลังงานที่สำคัญที่สุดแก่เซลล์และเป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์ชีวโมเลกุลต่างๆในเซลล์ซึ่งเมื่อเราบริโภคอาหารเข้าไป อาหารจะถูกสกัดย่อยด้วยกรดในกระเพาะก่อนจะถูกย่อยและดูดซึมไปเลี้ยงร่างกายโดยลำไส้เล็ก ตรงนี้เอง ที่น้ำตาลซูโครสในอาหารจะถูกเปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคสและฟรุคโทส ซึ่งจะไหลไปตามหลอดเล็กๆผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดไปตามหลอดเส้นเลือดใหญ่โดยละลายอยู่ในเลือดและไหลกลับมาทางน้ำเหลืองเพื่อเข้าสู่ตับ โดยน้ำตาลบางส่วนจะถูกสะสมไว้ในตับในรูปของแป้งสีขาวที่ไม่สามารถละลายได้แต่เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงแป้งส่วนนี้จะสามารถละลายกลายเป็นน้ำตาล เพื่อส่งเข้ากระแสเลือด และหากมีน้ำตาลเหลืออยู่อีก ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินเหล่านั้นเป็นไขมัน และเก็บไว้ในชั้นไขมันต่อไป
12.กะปิเผา
               กะปิเผาให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดโปรตีน
13.น้ำปลา
               น้ำปลาให้สารอาหารที่จัดอยู่ในหมวดโปรตีน ซึ่งน้ำปลานั้นช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคโรคหัวใจขาดเลือด ( Coronary Heart Disease ) ลดไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอร์ไรด์ ( Triglyceride ) ลดความรุนแรงของโรคปวดข้อ รูมาตอยด์ ( Rhematoid Arthritis ) บำรุงสมอง เพราะเซลล์สมองมีกรดไขมันชนิดนี้มาก จึงช่วยเสริมสร้างเซลล์สมอง

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง


การปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

รูปแบบการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ
          นอกจากรูปแบบการปลูกป่าภาครัฐ ซึ่งส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอดแล้ว มติที่ประชุมได้พิจารณากำหนดรูปแบบการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำเพิ่มเติมคือ การปลูกป่าตามแนวพระราชดำริ โดยการปลูกไม้  3  ชนิด เพื่อประโยชน์  4  อย่าง  สามารถยังประโยชน์ได้สูงสุด
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
          1.  เพื่อสนองตามแนวพระราชดำริในการปลูกต้นไม้  3  ชนิด  ได้แก่
                   -  ไม้ใช้สอย
                   -  ไม้ก่อสร้าง
                   -  ไม้กินได้
          ประโยชน์  4 อย่าง ได้แก่
                   -  ใช้เป็นฟืนสำหรับหุงต้มและใช้สอยเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
                   -  ใช้สร้างและซ่อมแซมที่พักอาศัย
                   -  ใช้เป็นอาหาร
                   -  เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำในขณะเดียวกัน
          2.  การมีส่วนร่วมของชุมชน
          3.  เพื่อสนองความต้องการของชุมชน
          4.  เพื่อฟื้นฟูป่าและระบบนิเวศในพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ต้นน้ำ
 วิธีดำเนินการ
          ปลูกไม้  3  ชนิด  ในพื้นที่เดียวกันเพื่อประโยชน์  ดังนี้
          1.  ไม้ใช้สอย (ไม้ฟืน, ไม้โตเร็ว)  จำนวน  100  ต้น/ไร่  ใช้ระยะปลูก 4 x 4  เมตร
          2.  ไม้ก่อสร้าง (ไม้เนื้อแข็ง,  ไม้เศรษฐกิจ)  จำนวน  100  ต้น/ไร่  ใช้ระยะปลูก 4 x 4  เมตร
          3.  ไม้ป่ากินได้  จำนวน  25  ต้น/ไร่  ใช้ระยะปลูก  4 x 4  เมตร
               (ไม้ชั้นล่าง ปลูกพืชหัว  สมุนไพร  และพืชล้มลุก)
การปลูกและชนิดพันธุ์ไม้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
          การปลูกป่า  3  อย่าง  ประโยชน์  4  อย่าง  ให้พิจารณาปลูกพันธุ์ไม้ตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย ไม้กินได้  ไม้มีค่า และไม้ใช้สอย ปลูกจำนวนไม่น้อยกว่า  200  ต้นต่อไร่  และให้มีเรือนยอดหลายชั้นใกล้เคียงกับป่า ชนิดพันธุ์ไม้ให้พิจารณาพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและพันธุ์ไม้อื่นตามความเหมาะสม
          วิธีการปลูกและบำรุงรักษา ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพป่าในเขตอนุรักษ์ที่มิใช่พื้นที่ต้นน้ำ  โดยมีบัญชีแสดงชนิดไม้ที่กำหนดให้ใช้ปลูกตามแนวทางปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพป่าในเขตอนุรักษ์ที่มิใช่พื้นที่ต้นน้ำ  ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ดังนี้

ลำดับที่
ท้องที่
ชนิดไม้ที่กำหนดให้ปลูก
1
ภาคเหนือ
สัก  สนเขา (Pinus)  ยมหอม  ยมหิน  มะค่าโมง  ตะเคียนทอง  ประดู่ป่า  แดง  ยางนา  ตะแบก  จำปีป่า  จำปาป่า  แอปเปิลป่า
กำลังเสือโคร่ง  นางพญาเสือโคร่ง  มะม่วงป่า  ตะกู  มะกอกป่า ตีนเป็ด  หว้า  เพกา  ราชพฤกษ์  นนทรีป่า  ก่อ  ทะโล้ มะขามป้อม  เสี้ยว  สะเดา  ขี้เหล็กบ้าน  บง  ไผ่ต่าง ๆ  หวาย
2
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สัก  มะค่าโมง  มะค่าแต้  ตะเคียนทอง  ยมหิน  ประดู่ป่า  แดง
ยางนา  พะยอม  ตะแบก  สนเขา (Punus)  ชิงชัง  พะยูง  มะม่วงป่า  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  นนทรีป่า  ถ่อน  พฤกษ์ ขี้เหล็กบ้าน  สะเดา  สีเสียดแก่น  สาธร  สนเขา  บง  ไผ่ต่าง ๆ หวาย
3
ภาคกลาง ตะวันตก
ประดู่ป่า  สะเดา  สีเสียดแก่น  ตะกู  มะปิน  กฤษณา  สัก 
ยมหอม  ยมหิน  ตะเคียนทอง  แดง   ยางนา  ยางแดง  ตะแบก  มะม่วงป่า  นนทรีป่า  ไผ่ต่าง ๆ  หวาย  กันเกรา  มะเกลือ  ตีนเป็ด  นางพญาเสือโคร่ง  ขี้เหล็กบ้าน  มะขามป้อม  สนทะเล  ทองหลาง
4
ภาคใต้
ประดู่ป่า  ทัง  มะม่วงป่า  หลุมพอ  ตะกู  ตะเคียนทอง  ตะเคียนชันตาแมว  เคี่ยม  ยางนา  กันเกรา  ไข่เขียว  ทุ้งฟ้า  ขี้เหล็กบ้าน  ยมหิน  ทุเรียนป่า  สะตอ  เหรียง  พะยอม  ไผ่ต่าง ๆ  หวาย

การเลือกชนิดพันธุ์ไม้ปลูก
          1.  ไม้ใช้สอย  หมายถึง  ไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อเนกประสงค์ในการก่อสร้าง          ทำเครื่องมือกสิกรรม ทำเฟอร์นิเจอร์ ประดิษฐกรรม  ฟืนและถ่านฯ ซึ่งชนิดไม้ที่ปลูกสามารถตัดฟันนำมาใช้ประโยชน์ได้ในช่วงระยะเวลาอันสั้น 5 10 ปี  ส่วนใหญ่จะเน้นหนักพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นหลัก แต่หากในบางพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ไม้ขนาดเล็ก เพื่ออุตสาหกรรม ประดิษฐกรรม พันธุ์ไม้มีค่าเศรษฐกิจบางชนิดแล้ว เช่น ไม้สัก ก็จัดเป็นไม้ใช้สอย
          ชนิดไม้ที่เหมาะสมสำหรับปลูกเป็นไม้ใช้สอย ควรมีลักษณะดังนี้
          1)  เป็นชนิดไม้ที่หาพันธุ์ได้ง่ายและโตเร็วในท้องถิ่นนั้น มีเรือนยอดขนาดปานกลาง รวมถึงความสามารถต้านทานต่อปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี
          2)  ให้ผลผลิตด้านเนื้อไม้สูงและมีกิ่งก้านมากพอสมควร
          3)  มีระบบรากค่อนข้างลึกเพื่อลดการแก่งแย่งธาตุอาหารจากพืชเกษตร และพ้นอันตรายจากการไถพรวน
          4)  ปลูกและบำรุงรักษาได้ง่าย
          5)  มีอายุการตัดฟันในระยะสั้น 5 15 ปี และมีความสามารถในการสืบต่อพันธุ์โดยวิธีง่าย ๆ เช่น แตกหน่อได้ดี
          6)  เป็นชนิดไม้ที่ให้ค่าความร้อนสูงเพื่อใช้เป็นฟืนถ่าน
          7)  เป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้เอนกประสงค์ เช่น ใบ ดอก ผล ใช้เป็นอาหารได้
          8)  สามารถช่วยให้การปรับปรุงดินได้ดี
          การเลือกชนิดไม้ปลูก นอกจากจะต้องเป็นชนิดไม้ที่ควรมีลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว การเลือกชนิดไม้ปลูกยังจะต้องคำนึงถึง ความต้องการปัจจัยแวดล้อมของพันธุ์ไม้ชนิดนั้น ๆ โดยพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจะมีความต้องการปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน ปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญและมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ประกอบด้วย สภาพภูมิอากาศ ดิน แมลงและเชื้อโรค การที่ปลูกได้ทราบข้อมูลว่าพันธุ์ไม้ชนิดใดชอบขึ้นในสภาพแวดล้อมอย่างไร  จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกชนิดไม้ปลูกเป็นอย่างมาก ชนิดพันธุ์ไม้เลือกปลูกอาจจะเป็นที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นหรือนำมาจากแหล่งอื่น แต่ในทางปฏิบัติที่ดีควรเลือกชนิดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเป็นอันดับแรกเสียก่อน เพราะจะเป็นวิธีการที่ประหยัดและปลอดภัยที่สุด  ส่วนการเลือกชนิดพันธุ์ไม้ต่างถิ่นนำมาปลูกควรเป็นอันดับรองและมีความแน่ใจขึ้นได้ดี  ดังนั้นการได้ทราบความต้องการปัจจัยแวดล้อมของพันธุ์ไม้บางชนิดเสียก่อน  ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกชนิดไม้ปลูก
ไม้โตเร็วในรูปของฟืนและถ่าน  ขณะนี้ความต้องการเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ    มีมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนป่าธรรมชาติมิอาจสนองตอบได้ทันท่วงที การปลูกไม้ไว้ใช้สอยสำหรับชุมชน     จึงเกิดขึ้นอย่างมากมายทั่วทุกภาคของประเทศไทย  โดยเฉพาะการปลูกไม้โตเร็วสำหรับใช้สอยและฟื้นฟูสภาพพื้นดินที่เสื่อมโทรมในปัจจุบันให้ดีขึ้น พันธุ์ไม้ที่กรมป่าไม้ได้แนะนำให้ประชาชนปลูก ได้แก่ ยูคาลิปตัส  สนประดิพัทธ์  กระถินยักษ์  สะเดา  เลี่ยน  กระถินณรงค์  สะแก  ขี้เหล็ก  สนทะเล  และพุทรา  เป็นต้น
2.  ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง
          ไม้เป็นวัสดุซึ่งมนุษย์รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื้อไม้เป็นส่วนที่ได้จากไม้ยืนต้น ซึ่งนำไปใช้สอยในรูปต่าง ๆ มากกว่าส่วนอื่น ส่วนของเนื้อไม้อาจแบ่งได้  3  ลักษณะ
          1.  เนื้อไม้โดยตรง  เช่น  ไม้กระดาน  ไม้ก่อสร้างต่าง ๆ เครื่องเรือน ฯลฯ
          2.  เซลล์ในเนื้อไม้  เช่น  กระดาษ  หีบห่อ ฯลฯ
          3.  อนูหรือสารเคมีจากไม้  เช่น  ยา  กาวเคมี  เครื่องนุ่งห่ม  ไหมเทียม  พลาสติก  ฯลฯ
          ไม้เป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาตินำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างและเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้ จากไม้ยืนต้น 
3  ประเภท
          1.  ไม้ในรูปเข็ม  พวกไม้สน (Pine)
          2.  ไม้ใบกว้าง  ที่ใช้กันทั่วไปในบ้านเราและรู้จักกันดีทั่วไป  เช่น  ไม้สัก ไม้ยาง ฯลฯ
          3.  ไม้ไผ่และปาล์ม  ไม้ไผ่เป็นที่รู้จักกันดี ส่วนไม้พวกปาล์ม ได้แก่หวาย  มะพร้าว  ตาล  หมาก

ไม้ที่เหมาะสมใช้ในงานก่อสร้างและการใช้สอยอื่น ๆ
          1.  เสา  ได้แก่  เต็ง  ตะเคียนทอง  รัง  แดง  เคี่ยม  มะค่าโมง  ประดู่  เคี่ยมคะนอง  สัก  เขล็ง  กันเกรา  หลุมพอ  เลียงมัน  ตีนนก
          2.  เสาเข็ม  ได้แก่  เต็ง  รัง  ติ้ว  แต้ว  พลวง  ตะแบก  สนทะเล  สนประดิพัทธ์  ยางพารา  ยูคาลิปตัส
          3.  แบบหล่อคอนกรีต  ได้แก่  กะบาก  งิ้ว  สมพง  เผิง
          4.  หมอนรถไฟ  ได้แก่  เต็ง  รัง  แดง  มะค่าโมง  กันเกรา  ตะเคียนชัน  มะค่าแต้  เลียงมัน  เขล็ง พันจำ  เคี่ยม  บุนนาค  สักทะเล  เคี่ยมคะนอง  ซาก  ตีนนก  หลุมพอ
          5.  ไม้ขีดไฟ  ไม้จิ้มฟัน  ได้แก่  มะกอก  ตีนเป็ด  ปออีเก้ง  ปอฝ้าย  ลุ่น  กระเจา  อ้อยช้าง  มะยมป่า  งิ้ว  ไข่เนา  สำโรง  ซ้อ
          6.  ด้ามเครื่องมือ  ได้แก่  กระถินพิมาน  ชิงชัง  ฝรั่ง  หลุมพอ  กระพี้เขาควาย  พลวง  ชุมเห็ด  เลียงมัน  แดง  แก้ว  พะวา  เหลาเตา  เต็ง  มะเกลือ  ตะเคียนหนู  รกฟ้า  ขานาง  พยุง  ตะแบก
          7.  เครื่องเรือน  ได้แก่  ประดู่  ชิงชัง  พยุง  มะเกลือ  มะค่าโมง  มะม่วงป่า  ยมหอม  ตาเสือ  กันเกรา  จำปาป่า  ตะแบก  เสลา  สัก  กระพี้เขาควาย  ดำดง  จันทร์ดง
3.  ไม้กินได้
          ไม้ทุกชนิดมีคุณสมบัติที่ให้คุณค่าในทุก ๆ ด้านได้อย่างเอนกประสงค์ และมีไม้บางชนิดมีคุณลักษณะเพิ่มเติม สามารถให้ประโยชน์ที่ใช้ส่วนต่าง ๆ เป็นอาหารได้ แบ่งออกเป็น  5  ประเภท ดังนี้
          1)  ประเภทที่กินใบและยอดอ่อน  ได้แก่  กันเกรา  ขี้เหล็กบ้าน  ถ่อน  เพกา  มะกอกป่า  มะม่วงป่า  สะเดา  สะตอ  หว้า  นนทรีป่า ฯลฯ
          2)  ประเภทที่กินดอก  ได้แก่  ขี้เหล็กบ้าน  พะยอม  เพกา  สะเดา  ฯลฯ
          3)  ประเภทที่กินผล  ได้แก่  ก่อ  นางพญาเสือโคร่ง  มะกอกป่า  มะเกลือ  มะขามป้อม 
มะม่วงป่า  หว้า  หวาย  ฯลฯ
          4)  ประเภทที่กินฝัก  ได้แก่  แดง  เพกา  มะค่าแต้  มะค่าโมง  สะตอ  เหรียง  ฯลฯ
          5)  ประเภทที่กินหัว  ราก  หน่อ  และอื่น ๆ  ได้แก่  ไผ่ต่าง ๆ  สีเสียดแก่น  หวาย  นนทรีป่า 
 ประเภทและลักษณะการเจริญเติบโตของไม้
          การเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ ลักษณะเฉพาะพันธุ์ไม้ที่สำคัญซึ่งเป็นตัวแทนของไม้แต่ละประเภท เพื่อประกอบการพิจารณาและตัดสินใจปลูก โดยแยกกลุ่มชนิดพรรณไม้ตามลักษณะการเจริญเติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของไม้แต่ละชนิด ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยพิจารณาเมื่อต้นไม้มีอายุและโตได้ขนาดเส้นรอบวงที่ระดับอก 100 ซม.  หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 ซม.  ซึ่งเป็นขนาดจำกัดที่เริ่มนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
          1.  ไม้โตเร็วมาก  คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขนาดที่กำหนด เมื่ออายุ 5 10 ปี โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงมากกว่า 5 ซม.ต่อปี  หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มขึ้นมากกว่าปีละ 1.5 ซม.  เช่นไม้สะเดาเทียม  ตะกู  เลี่ยน  กระถินณรงค์  กระถินเทพา  ยูคาลิปตัส  คามาลดูเลนซิส
          2.  ไม้โตเร็ว  คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขนาดที่กำหนดประมาณ 10 15 ปี  โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงปีละประมาณ 5 ซม.  หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับอกเพิ่มขึ้นปีละ 1.5 ซม.  ได้แก่ ไม้สะเดา  ขี้เหล็ก  ถ่อน  สีเสียดแก่น  โกงกาง  สนทะเล  สนประดิพัทธ์
          3.  ไม้โตปรกติ  คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขนาดที่เริ่มใช้ประโยชน์ได้เมื่ออายุ 15 20 ปี  โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวง 2.5 4 ซม./ปี  หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มขึ้น 0.8 1.2 ซม./ปี  ได้แก่  ไม้สัก  สนสามใบ  สนคาริเบีย
          4.  ไม้โตค่อนข้างช้า  คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขนาดจำกัดต่ำสุดที่เริ่มใช้ประโยชน์ได้ (เส้นรอบวงของลำต้นที่ระดับอก 100 ซม.)  เมื่ออายุ 20 25 ปี  โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวง 1.0 2.5  ซม./ ปี  หรือมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3 0.8 ซม./ปี ได้แก่ ไม้ประดู่  ยางนา  แดง  หลุมพอ
          5.  ไม้โตช้า  ได้แก่ ไม้ที่มีอายุตัดฟัน 25 30 ปี  จึงจะโตได้ขนาดจำกัดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงร้อยกว่า 1 ซม./ปี  หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 0.3 ซม./ปี  เช่น ไม้ตะเคียนทอง  พะยูง  ชิงชัน  มะค่าโมง  เต็ง  รัง

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต       
           ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไป ผุ้ใช้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิดหรือก่อให้เกิดอันตราย ได้ ฉะนั้น วิธีหนึ่งที่จะป้องกันเยาวชนไทยจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ การให้เยาวชนรู้จักกับศิลปป้องกันตัวในอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรจะรู้และยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
        1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
        2. หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
        3. ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง โดยควรไปพบกันในที่สาธารณะ
        4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
        5. ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
        6. ควรเคารพต่อข้อต่อลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้
                                                                          (
http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=19470)


บัญญัติ 10 ประการ

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
7. ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
8. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
9. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
10. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ
                                                                                                                 (www.nattapon.com/tag/)

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 
         1.เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network) หรือแลน (LAN)
         2.เครือข่ายบริเวณนครหลวง (Metropolitan Area Network) หรือแมน (MAN)
         3.เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) หรือแวน (WAN)
         4.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

  

เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)

          1.เครื่องบริการ(server)
          2.เครื่องสถานีงาน(workstation) หรือเครื่องรับบริการ(client)
          3.การ์ดต่อเชื่อมเครือข่ายเฉพาะที่(LAN card)
          4.ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบเครือข่าย(network system software)
          5.เครื่องกระจายสายระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ หรือฮับ(hub)
          6.สายต่อเชื่อมระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่(LAN cable)
 
               เครื่องบริการ(server) หรือ เครื่องแม่ข่าย คือเครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานให้บริการ ในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการผู้ใช้อีกทีหนึ่ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี้ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก ภายในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีกชั้นหนึ่ง
               เครื่องสถานีงาน(workstation) อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงานที่ได้รับการบริการจากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผลหรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมเป็นศูนย์กลางเรียกสถานีปลายทางว่า เทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์
                 แผ่นวงจรต่อเชื่อมเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่(LAN card)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเวิร์คสเตชั้น (Workstation) และเครื่องให้บริการข้อมูล (Server) ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ จำเป็นต้องติดตั้งแลนการ์ด
              ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบเครือข่าย(network system software) ระบบปฏิบัติการทั้งของเครื่องบริการและของเครื่องสถานีงานจะต้องเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาให้สามารถทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลกับเครือข่ายได้

              เครื่องกระจายสายระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ หรือฮับ(hub)โครงสร้างของระบบ LAN ทั่วไปจะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยใช้สายชนิดที่เรียกว่า UTP เป็นตัวเชื่อมต่อ ซึ่งในการทำงานจริงข้อมูลที่ส่งออกมาจากการ์ด LAN ของแต่ละเครื่องจะถูกกระจายต่อไปยังทุกเครื่องที่ต่อกับ HUB นั้น เหมือนกับการกระจายเสียงหรือ broadcast ไปให้ทุกคนรับรู้แต่เฉพาะเครื่องที่ถูกเจาะจงให้เป็นผู้รับเท่านั้นจึงจะรับข้อมูลไปอ่าน แต่สายทุกเส้นจะต้องมีข้อมูลนี้วิ่งไปด้วย คือส่งได้ทีละเครื่องเท่านั้น
               สายต่อเชื่อมระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่(LAN cable)คือสายสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์ ที่นิยมใช้มีดังนี้ UTB, STB ซึ่งการเลือกสายแต่ละประเภทนี้จะขึ้นกับการนำ ไปใช้ เช่น ติดตั้งภายใน ภายนอก หรือระยะทางไกลแค่ไหน เป็นต้น

  เครือข่ายบริเวณนครหลวง (Metropolitan Area Network) หรือแมน (MAN)

                เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LANที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเ้บิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
                ตัวอย่าง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาหนึ่งๆ จะมีระบบ MAN เพื่อเชื่อมต่อระบบ LAN ของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย MAN ได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่าย MAN ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max

  เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) หรือแวน (WAN)

                ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ ที่อยู่ห่างกันไกล อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ 2 ไมล์ซึ่งไกลกว่า ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่แลนที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area network) ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สาย

  เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

                ระบบเครือข่ายสากล ที่เกิดจากการรวมระบบเครือข่ายขนาดเล็กให้สื่อสาร และ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ โดยเป็นเครือข่ายที่มีเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งเปิดกว้างสู่สาธารณะอย่างแพร่หลาย ผสานระบบเครือข่ายที่แตกต่างกันทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
                อินเทอร์เน็ตทำให้เปิดโลกทัศน์ของผู้ใช้ได้กว้างไกล ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า โลกไร้พรมแดน เราสามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูล ค้นคว้าหาความรู้ ด้วยระบบ World Wide Web (WWW) หรือสื่อสารผ่านทางระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

 



              


ความหมายของข้อมูล

ข้อมูล  
                ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ
1.ระบบคอมพิวเตอร์
2.อุปกรณ์ต่อเซื่อมเพื่อการสื่อสารข้อมูล(เป็นส่วนฮาร์ดแวร์)
3.ซอฟแวร์สำหรับการสื่อสารข้อมูล
4.โพรโทคอล (protocol) หรือ เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบนั้นๆ
5.สื่อนำข้อมูล (media) เช่น สายโทรศัพท์ หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง หรือคลื่นวิทยุ